วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563

การวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย


การวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย


          งานวาดเส้น ลายไทย และจิตกรรมไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความเด่นชัด ทางศิลปะสืบทอดมายาวนาน
อย่างมีที่มาของการสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดจากสังเกตความเป็นไปต่าง ๆ ทางธรรมชาติ แล้วถ่ายทอดเป็นงานวาดเส้นที่ ลงตัว
 สวยงาม นำมาใช้ตกแต่งทั้งงาน สถาปังานวาดเส้น ลายไทยและจิตกรรมไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความเด่นชัด
 ทางศิลปะสืบทอดมายาวนานอย่างมีที่มาของการสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดจากสังเกตความเป็นไปต่าง ๆ ทางธรรมชาติ
 แล้วถ่ายทอดเป็นงานวาดเส้นที่ ลงตัว สวยงาม นำมาใช้ตกแต่งทั้งงาน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมและงานประดับ

         ในพิธีการต่าง ๆ ซึ่งโดยความรู้สึก ลายไทย จะเป็นลวดลายที่เป็นมงคล เป็นของสูง เพราะส่วนใหญ่จะเห็น ประดับ
 ตกแต่งอยู่ในวัด และพระราชวัง ซึ่งเป็น สิ่งที่ชาวไทยให้ความเคารพ ศรัทธา และเป็นที่ยกย่องว่าสวยงาม และมีคุณค่าการได้นำมาศึกษา
 ฝึกปฏิบัติวาดเส้นนับเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนำมาประยุกต์ใช้งาน เกิดผลงานทางด้านการออกแบบสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ 
แล้วยังเป็นการดำรงคุณค่าทางศิลป วัฒนธรรมของไทยให้ปรากฏแก่ผู้พบเห็นทั้งชาวไทยด้วยกัน 
และชาวต่างชาติในการศึกษาการวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย จะแยกเป็นสองรูปแบบใหญ่ ๆ
 คือ ลายไทย และจิตรกรรมไทย


1. ลายกนก

 ภาพที่ 1 ภาพลายกนก  (แสดงภาพลายกนกหลายรูปแบบ บางครั้งเรียกภาพลายกนกนี้ว่า ลายกนกสามตัว)

ภาพที่ 2 ภาพลายกนก (แสดงโครงสร้างขั้นตอนของการวาดเส้นลายกนกในโครงสี่เหลี่ยอผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 4)



ภาพที่ 3 ภาพลายกนก   (แสดงโครงสร้างการวาดเส้นลายกนก และเพิ่มเติมรายละเอียดของลาย)

        
         ศัพท์ตัวเดิมแปลว่าทองคำ ถือว่าเป็น แม่ลายของการเขียนลายไทย แบ่งได้เป็น 3 ตัว 
ในโครงสี่เหลี่ยอผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 4หรือสามเหลี่ยมปลายแหลม เรามักจะเรียกลายแม่แบบนี้ว่า ลายกนกสามตัว 
และในลายกนกสามตัวนี้ก็ยังมีหลายรูปแบบอีกได้แก่กนกเปลว ลักษณะของ ตัวลายอ่อนไหวแบบเปลวไฟ 
กนกผักกูดตัวลายเป็นขดม้วนตัว กนกก้านกดตัวก้านลายเป็นขดม้วนตัว เป็นต้น โครงสร้างการวาดเส้นลายกนกสามตัว


2. ลายกระจัง



 ภาพที่ 4  ภาพลายกระจัง(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลาย และรูปแบบต่าง ๆ)
  
      
     โครงสร้างของลายอยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า มีลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัวหรือตาอ้อย ด้านข้าง
จะแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก ลายนี้จะใช้ประดับตามขอบ เช่น ขอบของธรรมสาสน์ หรือขอบบนของลายหน้ากระดาน
 ลายกระจังจะมีอยู่หลายรูปแบบเช่น กระจังรวน กระจังปฏิญาณ กระจังใบเทศ กระจังหลังสิงห์ กระจังหู เป็นต้น


3. ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์


 ภาพที่ 5 ภาพลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  (แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และรูปแบบต่าง ๆ)


4. ลายประจำยาม


ภาพที่ 6 ภาพลายประจำยาม  (แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลาย และรูปแบบต่าง ๆ)
        

          โครงสร้างของลายจะอยู่ในสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะคล้ายดอกไม้สี่กลีบ มีการใช้ประดับตกแต่งมาตั้งแต่สมัยทราวดี 
การนำมาใช้วาดเส้นเป็นทั้งจัดเรียงต่อเนื่องกัน หรือเป็นลายดอกลอย ก็ได้ หรือวาดเส้นลายประจำยาม
 ในลักษณะดอกเด่นในกลุ่มลายประกอบ

5. ลายกาบ




ภาพที่ 7 ภาพลายกาบ  (แสดงเส้นลายกาบที่มีลักษณะโครงสูงใช้ตกแต่งมุมฐานเสาในรูปแบบต่าง ๆ)

 



 ภาพที่ 5.8 ภาพลายกาบที่ใช้ตกแต่งมุมฐานเสา  (สำนักราชเลขาธิการ, 2531, หน้า 429)
      
       เป็นลายทรงสูงมีความสวยที่สง่างาม ใช้ตกแต่งหรือห่อหุ้มตกแต่งตามโคนเสา หรือ มุมเหลี่ยมต่าง ๆ 
ในงานทางสถาปัตยกรรม มีลักษณะคล้ายกับอ้อย ไผ่ ในการนำมาใช้จะเป็น ตัวแตกช่อลายออกไป 
รูปแบบในการเขียนลายกาบ


6. ลายนกคาบและนาคขบ




 ภาพที่ 5.9 ภาพลายนกคาบ   (แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลายนกคาบ และรูปแบบต่าง ๆ)
           
      
            มีลักษณะเป็นหน้าของนกหน้านาคที่เอาปากคาบลายตัวอื่นเอาไว้หรือมีลายช่ออื่น ๆ ออกทาง
ปากตำแหน่งของลายนกคาบจะอยู่ตรงข้อต่อที่จะเชื่อมก้านกันและกัน เช่น ลายตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย 
รูปแบบของลายนกคาบ และนาคขบ



 ภาพที่ 5.10 ภาพลายนกคาบ และนาคขบ  (แสดงลายนกคาบ นาคขบ การแตกช่อลาย และรูปแบบต่าง ๆ)
         
  
           นอกจากส่วนต่าง ๆ ของส่วนลายที่สำคัญในการวาดเส้นลายไทยก็ยังประกอบด้วยลายช่อ ลายหน้ากระดาน 
ลายก้านต่อ ลายเถา ฯลฯ ซึ่งเกิดจากมีความเชี่ยวชาญในการวาดลายย่อยแล้วมาผูกรวมกันได้อย่างสวยงาม และนำ
ปประดับในส่วนต่าง ๆ  ทั้งงานสถาปัตยกรรม  ประติมากรรม จิตรกรรม และตกแต่งเฉพาะงานในการวาดเส้นลายไทย 
การผูกลาย หรือการเอาลายไทยในหลายส่วนมาวาดรวมกันเป็นแนวทางที่ทำกันมาตลอด ดังนั้นผู้วาดเส้นในกา
รผูกลายจะต้องรอบรู้ในการเขียนลายหรือเรียกว่า ช่อลายต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญจึงจะได้ภาพลายไทยได้จังหวะ
ที่สวยงามตามกรอบของภาพที่กำหนด



ภาพที่ 5.11  ภาพช่อลายลายไทยที่มีลายนกคาบ นาคขบ ที่กลมกลืนในการจัดภาพที่มา  (น.ณ ปากน้ำ, 2515 หน้า 10)

จิตรกรรมไทย
          

         ลักษณะ และรูปแบบของจิตรกรรมไทยในอดีตที่ผ่านมานิยมเขียนตามผนังภายใน พระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียง 
เรื่องราวที่เขียนก็จะเกี่ยวกับ พุทธประวัติ ชาดก รามเกียรติ์ การเขียนจิตรกรรมฝาผนังของไทยจะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์
ไม่เหมือนชาติใด ๆ ซึ่งมีรูปแบบ ในลักษณะที่แบนราบ ไม่มีรูปแบบของการถ่ายทอดในลักษณะของ ภาพ PERSPECTIVE





การวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย

การวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย            งานวาดเส้น ลายไทย และจิตกรรมไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความเด่นชัด ทางศิลปะสืบทอดมายาวนาน อย่างม...